“หมอเด็ก” เผยพัฒนาการของลูกน้อย เมื่อได้ฟังนิทานจากพ่อแม่เป็นประจำ

หมอเด็ก 22

“หมอเด็ก” เผยผลวิจัย พบว่าสมองของเด็กที่ได้ฟังนิทานเยอะ จะถูกกระตุ้น และเชื่อมโยงได้ดีกว่าเด็กที่ฟังน้อย ซึ่งจะมีผลต่อการเรียนรู้ภาษา และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

เด็ก  พทย์หญิง รวงฤทัย ฉิ้มสังข์ กุมารแพทย์ประจำคลินิกเด็กหมอรวงข้าว เจ้าของแฟนเพจเฟซบุ๊ก Junji’s Story by หมอรวงข้าว ได้โพสต์ข้อความระบุว่า เด็กเล็กจำนิทานได้ทั้งเรื่อง แม้ยังอ่านไม่ออก เพราะสมองเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลาเกิดอะไรขึ้นเมื่อพ่อแม่อ่านนิทานให้ลูกฟัง
จากงานวิจัยพบ ว่าสมองของเด็กที่พ่อแม่อ่านนิทานให้ฟังมากๆ เมื่อมาฟังนิทานจากครูที่โรงเรียน สมองจะถูกกระตุ้น และเชื่อมโยงได้ดีกว่ากลุ่มที่บ้านอ่านนิทานให้ฟังน้อย (จากรูปแสดงสมองของเด็ก เมื่อถ่ายภาพด้วย fMRI สีแดงจะเกิดเมื่อบริเวณนั้น ของสมองถูกกระตุ้น)การที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ทำให้ลูกได้เรียนรู้ภาษา และสำนวนที่ดีจากหนังสือ สัมผัสถึงความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่ สร้างสายสัมพันธ์ที่ดีส่วนการดูหน้าจอ ตั้งแต่ยังเล็ก โดยไม่มีใครอ่านหนังสือให้ฟังเลย มีแต่ข้อมูล ภาพ เสียง การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว รับข้อมูลด้านเดียว ทำให้กระตุ้นการเรียนรู้ภาษา และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ได้น้อยการเปิดนิทานให้ลูกฟังจากเสียง (Audio)โดยไม่มีภาพ สมองอาจถูกกระตุ้นน้อย

หมอเด็ก 22

เพราะได้ยินแต่เสียงไม่เห็นภาพ คิดตามไม่ออก เกิดจุดเชื่อมโยงในสมองน้อย (คำบางคำเด็กอาจไม่เคยได้ยิน เมื่อไม่มีภาพประกอบจึงไม่รู้ว่าคำนั้นคืออะไร)

เด็ก  แม้ช่วงแรกๆ ที่เริ่มอ่านนิทานให้ลูกฟัง ลูกยังไม่สนใจมาก คลานหนี ดึง กัด ฉีก แต่ได้ยินเสียงพ่อแม่ที่กำลังอ่าน หรือแค่มีพ่อแม่อ่านอยู่ข้างๆ ก็ทำให้รู้สึกดีนิทานคือโลกของภาษา และจุดกำเนิดของพัฒนาการที่ดี หากวันนี้ลูกยังไม่ชอบนิทาน แค่อ่านให้ฟังเป็นประจำทุกวัน วันนึงนิทานก็จะกลายเป็นทุกอย่างของลูกค่ะ คิดอะไรไม่ออก แค่มีนิทานอยู่ข้างๆ ลูก จะหยิบเล่นอะไรก็ได้ให้สนุก เพราะหนังสือสำหรับเด็กเล็ก อาจไม่ได้มีไว้อ่านแค่อย่างเดียวบ้านที่พ่อแม่อ่านนิทานให้ฟังมาก คือ อ่านให้ฟังสม่ำเสมอ ส่วนบ้านที่พ่อแม่อ่านนิทานให้ฟังน้อย คือ อ่านให้ฟังไม่สม่ำเสมอ อ่านแบบที่คุณตาหมอบอก “อ่าน 15 นาที ทุกวัน อ่านสม่ำเสมอ” ก็จะเห็นผลลัพธ์ดีๆ ค่ะ พอโตขึ้น 15 นาทีไม่มีอยู่จริง อาจกลายเป็น 15 เล่มแทน

แนะนำข่าวเด็ก อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : 8 ยาพิษฆ่าเด็ก | วรากรณ์ สามโกเศศ